Monday, December 24, 2012

วัดพระธาตุศรีจอมทอง Chom tong, Chiangmai




ประวัติความเป็นมา

วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร เดิมชื่อ วัดพระธาตุเจ้าศรีจอมทอง ตั้งอยู่ถนนเชียงใหม่-ฮอด หมู่ 2 ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ห่างจากตัวจังหวัดเชียงใหม่ประมาณ 58 กิโลเมตร วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร เป็น พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2506 บริเวณที่ตั้ง เป็นเนินดินสูง ประมาณ 10 เมตร เรียกกันมาตั้งแต่อดีตว่า ดอยจอมทอง ตามประวัติสันนิษฐานว่า เป็นวัดที่สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 20 แต่จากลักษณะทางศิลปกรรมของสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ภายในวัด ปรากฏเป็นลักษณะของศิลปกรรม ในสมัยหลังพุทธศตวรรษที่ 24 ซึ่งเป็นห้วงระยะเวลาของยุคฟื้นฟูเมืองเชียงใหม่

ประดิษฐานพระบรมธาตุ

ตามตำนานที่กล่าวถึงความเป็นมาของพระบรมธาตุศรีจอมทอง ดอยศรีจอมทองนั้น ได้แก่ที่ตั้งของวัดพระธาตุศรีจอมทองในปัจจุบันนี้ ซึ่งมีลักษณะเป็นภูเขาดินสูงจากระดับที่พื้นราบอื่น ๆ ในบริเวณนั้น ที่ตั้งพระวิหารอันเป็นที่ประดิษฐานพระบรมธาตุเจ้าจอมทอง จะเป็นยอดของดอยลูกนี้ในสมัยพุทธกาล และมีเมืองอยู่เมืองหนึ่งชื่อว่า “เมืองอังครัฏฐะ” มีเจ้าผู้ครองเมืองนั้นนามว่า พระยาอังครัฎฐะ ซึ่งเมืองนี้ตั้งอยู่ใกล้ ๆ กับดอยจอมทองลูกนี้ ซึ่งพระยาอังครัฎฐะนั้นได้ทราบข่าวจากพ่อค้าที่มาจากอินเดียว่า “บัดนี้พระพุทธเจ้าได้บังเกิดในโลกแล้ว เวลานี้ประทับอยู่ที่เมืองราชคฤห์ในประเทศอินเดีย” จึงได้ตั้งจิตอธิษฐานขอให้พระพุทธเจ้าเสด็จมาโปรด เมื่อพระพุทธองค์ทรงทราบด้วยพระญาณแล้ว จึงเสด็จสู่เมืองอังครัฏฐะพร้อมด้วยภิกษุสาวกทางอากาศ ได้มารับอาหารบิณฑบาตจาก พระยาอังครัฏฐะ และ ทรงแสดงธรรมโปรดพร้อมทั้งได้ตรัสพยากรณ์ไว้ว่า “เมื่อเรานิพพาน แล้วธาตุพระเศียรเบื้องขวา (พระทักษิณโมลี) ของเราจักมาประดิษฐานอยู่ ณ ที่ดอยจอมทองแห่งนี้” แล้วเสด็จกลับ ส่วนพระยาอังครัฏฐะเมื่อได้ทราบจากคำพยากรณ์นั้นแล้ว จึงได้สร้างสถูปไว้บนยอดดอยจอมทอง ด้วยหวังว่าจะให้เป็นที่ประดิษฐานพระบรมธาตุตามที่พระพุทธเจ้าทรงพยากรณ์ไว้นั้น พระยาอังครัฎฐะอยู่ครองราชย์จนสิ้นพระชนมายุของพระองค์
ต่อมาภายหลังเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานแล้ว โทณพราหมณ์ได้จัดแบ่งพระบรมสารีริกธาตุให้แก่กษัตริย์ทั้งแปดนคร ซึ่งในครั้งนั้น มัลลกษัตริย์แห่งเมืองกุสินารา ทรงได้พระทักษิณโมลีธาตุไว้ พระมหากัสสปะเถระเจ้าประธานฝ่ายสงฆ์ จึงได้กราบทูลมัลลกษัตริย์ถึงพุทธพยากรณ์ที่พุทธองค์เคยตรัสไว้ มัลลกษัตริย์ทราบ ดังนั้นจึงถวายพระบรมธาตุแด่พระมหากัสสปะเถระ ซึ่งท่านก็ได้อัญเชิญพระบรมธาตุวางไว้บนฝ่ามือ แล้วอธิษฐานอาราธนาพระบรมธาตุให้เสด็จไปยังดอยจอมทอง เพื่อประทับอยู่ในโกศแก้วอินทนิลภายในเจดีย์ทองคำ ที่พญาอังครัฎฐะได้สร้างถวายไว้ อยู่ที่ยอดดอยจอมทอง ตามที่พระพุทธองค์ได้พยากรณ์ไว้
กาลหลังจากที่พระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานไปแล้วได้ 218 ปี พระเจ้าอโศกมหาราช ได้เสด็จไปสู่ดอยจอมทอง และทรงได้สั่งขุดคูหาให้เป็นอุโมงค์ใต้พื้นดอยจอมทอง แล้วให้สร้างสถูปทองคำไว้ภายในคูหาและยังหล่อพระพุทธรูปทั้งเงินและทอง ตั้งไว้รอบสถูปนั้นแล้ว เอาพระบรมธาตุเจ้าที่อยู่ในสถูป ที่พระยาอังครัฏฐะให้สร้างไว้บนยอดดอยนั้น เข้าไปไว้ในสถูปที่สร้างใหม่ในคูหาใต้พื้นดอยจอมทองแล้วรับสั่งให้เอาก้อนหินปิดปากถ้ำคูหาเอาไว้ แล้วทรงอธิษฐานว่า “ต่อไปข้างหน้า ถ้ามีพระเจ้าแผ่นดินและศรัทธาประชาชน มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ขอให้พระบรมธาตุเจ้าเสด็จออกมาปรากฏแก่ผู้ชนให้ได้กราบไหว้สักการบูชา” แล้วพระองค์จึงเสด็จกลับเมืองปาตลีบุตร ประเทศอินเดีย

สร้างและบูรณปฏิสังขรณ์วัด

พ.ศ. 1994 สามีภรรยาคู่หนึ่งชื่อนายสร้อยและนางเม็ง ซึ่งตั้งบ้านเรือนอยู่ใกล้ดอยจอมทองและเป็นผู้มีศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาอย่างยิ่ง สามีภรรยาทั้งคู่ได้แผ้วถางบริเวณยอดดอย พร้อมทั้งสร้างเจดีย์และพระพุทธรูป 2 องค์ ไว้บนดอยจอมทองซึ่งผู้คนได้พบเห็นจึงเรียกว่า “วัดศรีจอมทอง” การสร้างวัดยังไม่เสร็จดี นายสร้อยและนางเม็งก็ได้ถึงแก่กรรมไปเสียก่อน
ต่อมาถึง พ.ศ. 2009 มีชายสองคนชื่อ สิบเงิน และ สิบถัว ได้ช่วยกันบูรณะก่อสร้างวัดศรีจอมทอง ให้เป็นรูปเป็นร่าง มีพระวิหารมุงด้วยคาหลังหนึ่ง และได้นิมนต์พระภิกษุชื่อ “สริปุตต์เถระ” มาเป็นเจ้าอาวาส และท่านเจ้าอาวาสก็ได้ปฏิสังขรณ์วิหารให้มั่นคงแข็งแรงใช้ไม้ระแนงและกระเบื้องมุงหลังคา จากนั้นหลังจากที่เจ้าอาวาสได้มรณภาพไป ต่อจากนั้นก็มีเจ้าอาวาสรูปต่อ ๆ มาได้สร้าง ปราสาทเฟื่อง และระเบียงหน้ามุขหลังวิหาร เพื่อเป็นที่ไว้พระพุทธรูป และยังก่อกำแพงรอบพระวิหารทั้ง 4 ด้าน พร้อมทั้งสร้างกุฏิเป็นที่พักอาศัยของพระภิกษุ และช่วยบูรณปฏิสังขรณ์วัดอยู่เสมอ

ค้นพบพระบรมธาตุ

กาลล่วงมาถึง พ.ศ. 2042 สมัยนี้ พระธัมมปัญโญเถระ เป็นเจ้าอาวาสวัดพระธาตุศรีจอมทอง ได้มีตาปะขาวคนหนึ่งอาศัยอยู่ที่วัดนั้นเกิดนิมิตฝันว่า เทวดาได้มาบอกว่าใต้พื้นวิหารบนยอดดอยที่ตั้งของวัดนี้มีพระบรมธาตุของพระพุทธเจ้า และพระบรมธาตุนั้นจักเสด็จออกมาให้ฝูงชนได้กราบไหว้สักการบูชาต่อไป ตาปะขาวจึงได้ไปเล่าความฝันนั้นให้แก่เจ้าอาวาสฟัง เจ้าอาวาสจึงได้ทำการอธิษฐานจิตว่า “ถ้ามีจริงดังความฝันนั้น ขอให้พระบรมธาตุจงได้เสด็จออกมา ในเมื่อข้าพเจ้ายังมีชีวิตอยู่นี้เถิด ขอข้าพเจ้าจงได้ไหว้สักการบูชาพระบรมธาตุนั้น เมื่อข้าพเจ้ายังไม่ได้เห็นและได้สักการบูชาแล้ว ขออย่าให้ข้าพเจ้าสิ้นชีวิตไปเสียก่อนเลย” ครั้นอธิษฐานแล้ว จนล่วงมาถึงปีจุลศักราช 861 ปี พ.ศ. 2042 เดือน 4 ขึ้น 14 ค่ำ พระบรมธาตุเจ้าก็เสด็จออกจากพระสถูปทองคำ ซึ่งก็แสดงปฏิหาริย์เป็นมหัศจรรย์ต่าง ๆ ให้ปรากฏแก่คนทั้งหลาย แล้วในวันรุ่งขึ้นพระธมมปัญโญเถระกับตาปะขาวก็ได้พบพระบรมธาตุเจ้าอยู่ในรูพระเกศโมลีของพระพุทธรูป ซึ่งประดิษฐานอยู่ภายในพระวิหารนั้น จึงได้เก็บรักษากันไว้โดยเงียบ ๆ และรู้กันเพียงแค่ตาปะขาวและเจ้าอาวาสเท่านั้น
หลังจากนั้นก็มีพระอานันโทเป็นเจ้าอาวาสองค์ถัดมา แล้วก็มี พระเหมปัญโญ พระญาณมงคล พระพุทะเตชะ พระอรัญวาสี พระธัมมรักขิต พระไอยกัปปกะ กาลล่วงมาถึง พ.ศ. 2057 สมัยของพระมหาสีลปัญโญเป็นเจ้าอาวาสวัดศรีจอมทอง มีพระเถระรูปหนึ่งชื่อ พระมหาพุทธญาโณ ท่านไปยังเมืองพุกามและได้ตำนานพระบรมธาตุมาจากเมืองพุกาม และได้พิจารณาจากตำนานจึงคาดคะเนว่าพระบรมธาตุน่าจะตั้งอยู่ที่วัดศรีจอมทองแน่ จึงได้สั่งให้พระอานันทะและปะขาวนักบุญทั้งหลาย ให้ไปที่วัดศรีจอมทอง เมื่อไปถึงวัดให้ทุกคนทำการสักการบูชาดอกไม้ธูปเทียนและให้ตั้งสัตยาธิษฐาน หากว่าพระบรมธาตุตั้งอยู่ในที่นั้นจริงดังตำนานกล่าว ขอพระบรมธาตุจงแสดงปฏิหาริย์เป็นอัศจรรย์ต่างๆให้ปรากฏแก่คนทั้งหลายด้วยเทอญ เมื่อพระอานันทะได้ไปถึงวัดศรีจอมทองแล้วก็ได้ทำการเคารพสักการบูชา และตั้งสัตยาธิษฐานตามที่พระพุทธญาโณสั่งทุกประการ ฝ่ายพระมหาสีลปัญโญ เจ้าอาวาสเมื่อได้เห็นอาการของคนเหล่านั้นเช่นนั้นจึงได้นำเอาพระบรมธาตุ ซึ่งเก็บรักษากันต่อมานั้นออกมาแสดง ให้พระอานันทะและปะขาวนักบุญทั้งหลายเหล่านั้นได้เคารพสักการบูชา
ความสำคัญ

พระธาตุศรีจอมทอง เป็นวัดพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร เป็นสถานที่ประดิษฐานของพระทักษิณโมลีธาตุ พระธาตุส่วนที่เป็น พระเศียรเบื้องขวาของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีขนาดโตประมาณ เมล็ดพุทรา สัณฐานกลมเกลี้ยง สีขาวนวลเหมือน ดอกบวบ หรือ สีคล้ายดอกพิกุลแห้ง ตามประวัติเล่าว่า พระเจ้าอโศกมหาราช เป็นผู้อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ที่ ดอยจอมทอง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 218 ปัจจุบัน พระธาตุ ถูกบรรจุไว้ในพระโกศ 5 ชั้น ซึ่งตั้งอยู่ภายใน พระวิหารจตุรมุขก่ออิฐถือปูนทั้งองค์ มีฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส คล้ายพระเจดีย์ กว้าง 4 เมตร สูง 8 เมตร ตามประวัติว่าสร้างขึ้นโดย พระเจ้าดิลกปนัดดาธิราช หรือ พระเมืองแก้ว กษัตริย์ราชวงศ์มังราย เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2060

การเดินทาง

การเดินทาง รถยนต์ส่วนตัว จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32 ถึง จ.นครสวรรค์ เข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 ผ่าน จ.ตาก ถึง อ.เถิน จ.ลำปาง แยกเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 106 ไปทาง จ.ลำพูน ก่อนถึง อ.บ้านโฮ่ง จะมีทางแยกซ้ายเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1010 ไป อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ ซึ่งจะไปบรรจบกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108 ให้เลี้ยวซ้ายตรงไปตามทาง วัดอยู่ฝั่งซ้าย สำหรับรถโดยสาร มีรถโดยสารเดินทางจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (หมอชิต)-จอมทอง
ในส่วนของการเดินทางโดยเครื่องบิน สายการบินไทย และสายการบินบางกอกแอร์เวย์ มีเที่ยวบิน กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ออกทุกวัน

   ทริปไปทำบุญวัดพระธาตุศรีจอมทอง โดย : Admin

ทริปนี้ไปเมื่อ 16 ธันวาคม 2555

......เดินทางจากอำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ ไปยังวัดพระธาตุศรีจอมทอง ระยะทางโดยประมาณ 20 กิโลเมตรได้ โดยท่านสามมารถนั่งรถเมลล์ สายเชียงใหม่-ดอยเต่า หรือ รถสองแถวสีเหลืองจอมทอง ไปได้ (หากไม่รู้จักเส้นทางแนะนำให้นั่งรถสองแถวสีเหลืองจอมทอง เพราะจะไปจอดคิวที่หน้าวัดพระธาตุศรีจอมทองพอดี) ค่าโดยสารคนละ 20 บาท .............


รถโดยสารเชียงใหม่-ดอยเต่า


รถสองแถวสีเหลืองจอมทอง

การเดินทางใช้เวลาประมาณ 30-40 นาที ขึ้นอยู่กับว่าจอดรับคนบ่อยไหม ก็จะถึงวัดพระธาตุศรีจอมทอง ด้านหน้าก็จะเต็มไปด้วยรถบัส รถตู้ ซึ่งพานักท่องเที่ยวมากราบไหว้สักการะพระบรมธาตุ (แต่ตอนที่ไปเช้ามากรถยังไม่เยอะสักเท่าไหร่ นอกจากนั้นแผงขายลอตเตอร์รี่ ก็เยอะมาก ..)
บริเวณทางเข้า


บรรยากาศการขายล็อตเตอร์รี่บริเวณลานจอดรถหน้าวัด


จากนั้นเราก็เข้าไปในวัดเพื่อทำบุญถวายสังฆทาน เยี่ยมชมภายในวัด ประมาณ 09.00น.ก็ได้ออกมาหาข้าวเช้ากิน (ออกจากบ้านมาตั้งแต่ 07.00น.ยังไม่ได้กินไรเลย... หิวแล้ว) ก็จะมีร้านอาหารให้ท่านเลือกรับประทานกันตามใจชอบ แต่ที่สะดุดตามากที่สุดก็คือ ร้านข้าวซอย ขนมจีน ชื่อว่าร้าน ข้าวซอยกะโหล้ง (กะลา) ก็อดไม่ได้ที่จะลอง....ราคาชามละ 30 บาท รสชาดอร่อย สะอาด ที่แปลกก็คือ อุปกรณ์ที่ใช้ใส่ของจะทำจากกะลามะพร้ามหมดเลย ไม่ว่าจะเป็นชาม แก้วน้ำ ช้อน ซ้อม ที่ใส่เครื่องปรุง เป็นต้น หากท่านใดแวะมาก็มาลองกันได้ พอกินข้าวเรียบร้อยแล้ว....ก็ได้เวลากลับแล้วล่ะซิ เพราะมีภารกิจต่อต้องไปทำงานซะแล้ว....


วัดพระธาตุศรีจอมทอง


พระบรมธาตุ

หลวงพ่อเพ็ชร

ภายในวิหารหลวง


ร้านข้าวซอยกะโหล้ง

ก่อนกิน

อิ่มแล้ว..อร่อย..จุงเบย
..ใกล้จะถึงเทศกาลปีใหม่เต็มทีแล้วควรหาโอกาสไปกราบไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์เพื่อเป็นมงคลกับชีวิต อากาศกำลังเย็นสบายทางภาคเหนือเหมาะแก่การท่องเที่ยวเป็นอย่างยิ่ง วันหยุดยาวช่วงสิ้นปีขอให้เพื่อนๆทุกคนเดินทางท่องเที่ยวโดยปลอดภัย และปีใหม่นี้ขออวยพรให้ทุกคน ร่ำรวยเงินทอง ไม่เจ็บไม่จน ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานทุกสิ่งทุกประการ เทอญ.... หากมีโอกาสก็อย่าลืมมาสักการะพระธาตุศรีจอมทองกันด้วยนะจ๊ะ ..


ขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.dhammathai.org
http://th.wikipedia.org
http://www.thaitransport-photo.net
thaimtb.com 

ขอบคุณเพื่อนร่วมเดินทาง
penpen,mammie

Tuesday, December 4, 2012

เกาะเสม็ด จังหวัดระยอง (Koh samet,Rayong)



เกาะเสม็ด จังหวัดระยอง+ทริปไปเที่ยวเกาะเสม็ด by : Admin
เกาะเสม็ด เป็นเกาะในตำบลเพ อำเภอเมือง จังหวัดระยอง ในพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้า-หมู่เกาะเสม็ด เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของระยอง ที่ได้รับความนิยมทั้งจากชาวไทยและต่างประเทศ อยู่ห่างจากชายฝั่งบ้านเพประมาณ 6.5 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 3,125 ไร่ มีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม เชื่อกันว่าคือเกาะแก้วพิสดาร ในวรรณคดีเรื่องพระอภัยมณี ของสุนทรภู่ อาจเป็นเพราะที่เกาะเสม็ดนี้มีหาดทรายขาวละเอียดอยู่ทั่วไป เหตุที่ชื่อว่าเกาะเสม็ดก็เพราะมีต้นเสม็ดขาวและเสม็ดแดงขึ้นอยู่มาก ชาวบ้านนำมาใช้เป็นไต้เพื่อจุดไฟ
บนเกาะเสม็ดไม่มีแม่น้ำลำคลอง เป็นภูเขาและป่าไม้เบญจพรรณ ประมาณ 80% ของพื้นที่ ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-กันยายน ช่วงเดือนพฤษภาคมมีมรสุมและคลื่นลมจัดมาก เดือนสิงหาคมมีฝนตกชุกส่วนใหญ่เป็นชาวเกาะที่อาศัยอยู่แต่ดั่งเดิม ใช้ชีวิตอยู่กับทะเลลักษณะแบ่งปันกันรู้จักกันแบบทุกบ้าน

อุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้า-หมู่เกาะเสม็ด มีเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ 3 เส้นทาง คือ เกาะเสม็ด เกาะกุฎี และเขาแหลมหญ้า ในแต่ละเส้นทางจะพบพันธุ์ไม้นานาชนิด เช่น พันธุ์มะนาวป่า ต้นไข่เต่า ต้นขันทองพยาบาท ต้นเสม็ดแดง และสัตว์ป่า เช่น อีเห็นเครือ พังพอนเล็ก ลิงแสม กระรอกหลากสี นกนางแอ่นบ้าน และนกฮูก เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีจุดชมวิวทั้ง 3 เส้นทาง อีกด้วย บริเวณที่ทำการอุทยานเขาแหลมหญ้ามี บริการบ้านพักด้วย รายละเอียดติดต่อ โทร. 0 2562 0760 หรือสำรองที่พักด้วยตนเองที่เกาะเสม็ด 
เชื่อกันว่าคือเกาะแก้วพิสดาร ในวรรณคดีเรื่องพระอภัยมณี ของสุนทรภู่ เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อของระยอง ที่ได้รับความนิยมทั้งจากชาวไทยและต่างประเทศ ตั้งอยู่ตำบลเพ อำเภอเมือง อยู่ห่างจากชายฝั่งบ้านเพประมาณ 6.5 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 3,125 ไร่ มีลักษณะเป็นเกาะรูปสามเหลี่ยม ส่วนฐานของเกาะอยู่ด้านทิศเหนือ ซึ่งหันเข้าสู่ฝั่งบ้านเพ มีภูเขาสลับซับซ้อนกันอยู่ 2-3 ลูก มีที่ราบอยู่ตามริมฝั่งชายหาด ส่วนใหญ่จะอยู่ทางด้านเหนือและตะวันออก เหตุที่มีชื่อว่า “เกาะเสม็ด” เพราะเกาะนี้มีต้นเสม็ดขาว และเสม็ดแดงขึ้นอยู่มาก ซึ่งในอดีตชาวบ้านนำมาใช้ทำไต้จุดไฟ บนเกาะเสม็ดไม่มีแม่น้ำลำคลอง ประมาณ 80% ของพื้นที่ เป็นภูเขาและป่าไม้เบญจพรรณ ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-กันยายน ช่วงเดือนพฤษภาคมมีมรสุมและคลื่นลมจัดมาก เดือนสิงหาคมมีฝนตกชุก
การเดินทางไปยังเกาะเสม็ด
รถยนต์
เส้นทางแรก ทางหลวงหมายเลข 3 (ถนนสุขุมวิท) จากกรุงเทพฯ ผ่านอำเภอบางปู อำเภอบางปะกง จังหวัดชลบุรี บางแสน ศรีราชา พัทยา หาดจอมเทียน สัตหีบ อำเภอบ้างฉาง ไปจนถึงอำเภอเมือง จังหวัดระยอง รวมระยะทางประมาณ 220 กิโลเมตร


เส้นทางที่ 2 ทางหลวงหมายเลข 34 (ถนนบางนา-ตราด) เริ่มจากตรงจุดสิ้นสุดทางด่วนด่านเฉลิมนคร อำเภอบางนา ผ่านอำเภอบางพลี อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ และเชื่อมต่อกับทางหลวงหมายเลข 3 ที่กิโลเมตรที่ 70 อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา หลังจากนั้นก็จะผ่านเส้นทางเดียวกันกับเส้นทางที่ 1 รวมระยะทางประมาณ 220 กิโลเมตร



เส้นทางที่ 3 ทางหลวงหมายเลข 36 (บายพาส 36) จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางเดียวกับเส้นทางที่ 2 จนถึงกิโลเมตรที่ 140 อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าสู่เส้นทางหลวงหมายเลข 36 จากนั้นให้เดินทางต่อไปยังจังหวัดระยองด้วยระยะทาง 70 กิโลเมตร รวมระยะทางประมาณ 210 กิโลเมตร



เส้นทางที่ 4 ทางหลวงหมายเลข 344 (ถนนสายบ้านบึง-แกลง) เริ่มจากจังหวัดชลบุรี ผ่านอำเภอบ้านบึง หนองใหญ่ อำเภอวังจันทร์ และสิ้นสุดที่อำเภอแกลง เป็นระยะทาง 100 กิโลเมตร (กรุงเทพฯ-ชลบุรี 80 กิโลเมตร) เส้นทางเส้นนี้เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเดินทางไปยังแหล่งที่องเที่ยวในเขตอำเภอแกลง หรือเดินทางไปยังจังหวัดจันทบุรี หรือจังหวัดตราด และหากต้องการที่จะเดินทางเข้าสู่อำเภอเมือง จังหวัดระยอง ให้ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 3 โดยย้อนกลับมาอีกประมาณ 42 กิโลเมตร



เส้นทางที่ 5 ทางหลวงหมายเลข 7 (สายมอเตอร์เวย์) เริ่มจากถนนพัฒนาการ เขตประเวศ กรุงเทพฯ ไปสิ้นสุดที่ จังหวัดชลบุรี ระยะทาง 75 กิโลเมตร จากนั้นใช้ทางหลวงหมายเลข 36 เป็นระยะทาง 100 กิโลเมตร จนถึงอำเภอเมือง จังหวัดระยอง รวมระยะทางทั้งสิ้นประมาณ 175 กิโลเมตร

รถโดยสารประจำทาง
จาก สถานีขนส่งสายตะวันออก ( เอกมัย) มีรถประจำทางไปยังตัวจังหวัดระยอง และอำเภอต่าง ๆ ในจังหวัดหลายเส้นทาง ได้แก่
สายกรุงเทพฯ - ระยอง, บ้านเพ, แกลง, แหลมแม่พิมพ์, มาบตาพุด, ประแสร์ เป็นต้น
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2391 2504
สถานีเดินรถโดยสาร จังหวัดระยอง
โทร. 0 3861 137 9
และมีบริษัทเดินรถเอกชนที่วิ่งบริการ เส้นทางสายด่วน มอเตอร์เวย์ ได้แก่ บริษัท ระยอง ทัวร์
โทร. 0 2712 3662
สาขาระยอง โทร. 0 38 86 1 354-5
จาก สถานีขนส่งหมอชิต ถนนกำแพงเพชร 2 มีรถโดยสารประจำทางทั้งรถ ธรรมดา และรถปรับอากาศชั้น 2 หมอชิต- ระยอง ออกทุก 1 ชั่วโมง ตั้งแต่เวลา 04.30-16.30 น.
ใช้เวลาเดินทางประมาณ 5 ชั่วโมง
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 2936 2841
ส่วนรถปรับอากาศสายด่วน วิ่งเส้นบางนา-ตราด ออกตั้งแต่เวลา 04.30-21.00 น. ใช้เวลาเดินทาง 2 ชั่วโมง สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ระยองทัวร์ กรุงเทพฯ โทร. 0 2 936 1216 สาขาระยอง โทร. 0 3886 1354-5
การเดินทางจากบ้านเพ ไปเกาะเสม็ด
จากท่าเรือบ้านเพ มีเรือโดยสารบริการทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง (รอผู้โดยสารอย่างน้อยประมาณ 20 คนจึงออกเรือ) ค่าโดยสารระหว่างบ้านเพ-หาดทรายแก้ว (ท่าเรือหน้าด่าน)
ไป-กลับ 100 บาท เรือเมล์ 8.00 - 16.00 น.ใช้ เวลาเดินทางประมาณ 40 นาที
เรือ Speed boat
ราคาประมาณ 1,500 - 2,600 บาทต่อเที่ยวตลอด 24 ชั่วโมงขึ่นอยู่กับจำนวนคนและขนาดของเรือ (รายละเอียดด้านล่าง) จากบ้านเพไปหาดต่างๆ ถ้าท่านพลาดเรือที่ไปยังอ่าวๆต่างๆที่ออกเป็นเวลาท่านสามารถนั่งเรือมาลงท่าเรือหน้าด่าน ค่าโดยสารประมาณ 50 บาทต่อคนใช้เวลาประมาณ 40 นาที ที่นี่มีบริการรถสองแถวและมอเตอร์ไซต์ ไปยังหาดต่างๆ ราคาขึ้นอยู่ระยะทางไปหาดนั้นๆ จากบ้านเพ-อ่าววงเดือน และะมีเรือออกเวลา 9.30 , 13.30 , 15.30 น. (ท่าเรือสะพานใหม่)ไป-กลับ 120 บาท สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ท่าเรือนวลทิพย์ โทร. 0 3865 1508, 0 3865 1956
การเดินทางบนเกาะเสม็ด
บนเกาะมีถนนสายเดียวเป็นทั้งคอนกรีตบ้างสลับกับลูกรังและดิน สองแถวดูจะเป็นการเดินทางที่สะดวกที่สุด อัตราค่าโดยสาร หาดทรายแก้วคนละ 10 บาท เหมา 100 บาท อ่าวไผ่คนละ 20 บาท เหมา 150 บาท อ่าวพร้าวอ่าววงเดือนคนละ 30 บาท เหมา 200 บาท อ่าวหวาย อ่าวเทียน 40 บาทต่อคน เหมา 300-400 บาท อ่าวกิ่วคนละ 50 บาท เหมา 500 บาท สำหรับนักท่องเที่ยวที่รักการจญภัยและสนใจมอเตอร์ไซต์เช่า ขับไม่คล่องอย่าลองจะดีกว่าเพราะสภาพถนนเป็นดินสลับหินและลาดชัน ราคาเริ่มต้น 300 บาทต่อวัน ขึ่นอยู่กับการต่อรอง


ราคาค่าโดยสารเรือจาก ท่าเรือนวลทิพย์ ไปเกาะเสม็ด
Ticket Price Nuanthip Pier to Samet Island


หน้าด่าน - หาดทรายแก้ว

Nadan Pier - Hadsaikaew

ไป-กลับ 100 บาท



อ่าววงเดือน

Ao VongDuean

ไป-กลับ 120 บาท



อ่าวหวาย

Ao Wai

ไป-กลับ 200 บาท


อ่าวพร้าว
Ao Phrao
ไป-กลับ 120 บาท

อ่าวกิ่ว-ปะการัง
Ao Kui-Pakarang
ไป-กลับ 200 บาท

เสม็ดคลิฟ
Samet Cliff
ไป-กลับ 120 บาท


แผนที่บนเกาะเสม็ด





ทริปไปเที่ยวเกาะเสม็ด โดย : Admin

ทริปนี้ไปเมื่อ 12 -14 สิงหาคม 2555

วันที่แรก เราเดินทางจากสถานีขนส่งจังหวัดเชียงใหม่ โดยนักรถทัวร์นครชัยแอร์ http://www.nca.co.th/runway.php เชียงใหม่-ระยอง ใช้เวลาประมาณ 12 ชั่วโมง ถึงสถานีขนส่งระยอง จากนั้นมีเพื่อนมารับที่ขนส่งระยองเพื่อไปท่าเรือบ้านเพ หากเพื่อนๆจะนั่งรถไปบ้านเพเองก็จะมีรถรับจ้างอยู่ ท่าเรือที่เราจะใช้บริการคือท่าเรือนวลทิพย์ ก็จัดการซื้อตั๋ว แล้วรอเวลาเรือออก ใช้เวลาเดินทางจากท่าเรือไปเกาะเสม็ดก็ประมาณ 1 ชั่วโมง หากเพื่อนๆ ใจร้อน หรือเมาเรือ ก็สามารถนั่งเรือ Speed boat ไปได้ (แต่ราคาก็แพงเป็นพิเศษ)

ท่าเรือหน้าด่านยังสร้างไม่เสร็จ

เรือจอดเทียบท่าที่หน้าด่าน ตรงเซเว่น ก็จะมีรถกระบะสีเขียว มารอรับผู้โดยสาร ซึ่งเหมาไปคันละ250บาทไปส่งตามอ่าวที่เราจะไป ซึ่งสถานที่ที่เราจะไปพักกันคืออ่าวลุงดำ (เส้นทางเป็นถนนลูกรังโหดมาก ต้องจับราวที่รถไว้ดีๆล่ะ) 

รถที่จะพาท่านไปยังอ่าวต่างๆ ค่าบริการ 250 บาท

เมื่อถึงที่พักของเรา อ่าวลุงดำอาปาเช่รีสอร์ทราคาห้องพักคือนละ 1200 บาท ไม่มีอาหารเช้า แต่ที่รีสอร์ทมีร้านอาหารไว้ให้บริการ หรืออาจจะออกไปทานแถวหน้าด่านก็ได้แล้วแต่เพื่อนๆสะดวก จากนั้นพอเก็บสัมภาระเรียบร้อยแล้ว ก็ได้เวลาทำกิจกรรม ซึ่งพวกเราเตรียมตัวกันมาเป็นอย่างดี นั่นก็คือ กิจกรรมการตกปลา นี่ก็เป็นเหตุผลหนึ่งที่พวกเราเลือกอ่าวลุงดำ เพราะมีสะพานนั่งตกปลาด้วย พอตกกลางคืนก็ตกปลาหมึกกันอีกรอบ พร้อมกับการสังสรรค์กันเล็กๆ น้อยๆ 



ถึงแล้วอ่าวลุงดำ



บนสะพานมีร้านอาหารบรรยากาศดีมาก

กิจกรรมตกปลาและปลาหมึกที่อ่าวลุงดำ (เอาอุปกรณ์มากันเอง)

วันที่สอง  ตื่นกันแต่เช้าเพื่อที่จะออกไปเช่ารถATVมาขับเล่นพวกเราเดินไปขึ้นรถเขียวซึ่งจะมาจอดรอนักท่องเที่ยวด้านหลังอ่าว ราคา 250 บาท (คณะเราไปกันทั้งหมด4คน)พอไปถึงหน้าด่านก็แวะทานข้าวร้านอาหารตามสั่งแถวนั้นก่อนที่จะไปเช่ารถ ATV ราคาเช่าก็คันละ 1,000 บาท/วัน น้ำมันเต็มถัง จากนั้นก็ทดสอบขับกันก่อนเพราะโดยส่วนตัวแล้วยังไม่เคยขับมาก่อนและที่สำคัญทางก็เป็นทางลูกรัง (ตื่นเต้นยังไงชอบกล เหงื่อแตกเล็กน้อยเวลารถเขียวบีบแตรไล่) คณะของเราลองขับกันแล้วปรากฎว่าต้องเปลี่ยนรถไป1คัน หลังจากทดสอบเสร็จเรียบร้อยแล้วพวกเราก็พากันขับขึ้นไปยังที่พัก มันตื่นเต้นสุดขีดเมื่อเจอหลุมขนาดใหญ่และรถมีทีท่าว่าจะไหลลงมา(คนซ้อนข้างหลังกรี๊ดดังลั่น) แต่พวกเราก็ขับกันมาได้อย่าปลอดภัย มาถึงที่พัก ก็พักผ่อนเล็กน้อย จากนั้นก็ขับรถตระเวนเที่ยวตามอ่าวต่าง ๆ 

หารู้ไม่ว่าตอนนี้รถกำลังไหลลงไป


ขับขี่กันมานานก็ได้เวลาเติมน้ำมันกันหน่อย

พอตกบ่ายแก่ๆคณะของเราก็แยกย้ายกันไปพักผ่อน เล่นน้ำทะเล แล้วก็มานั่งสังสรรค์กันนิดหน่อยร่วมกับการทำกิจกรรมตกปลาหมึกบนสะพานยามค่ำคืน ช่างมีความสุขเหลือเกิน

พักผ่อนเล่นน้ำตามอัธยาศัย

ได้ปลาหมึกกันถ้วนหน้า

วันที่สาม เสียดายจังวันนี้ก็จะได้กลับกันแล้วคณะของเราจะออกจากที่พักประมาณเที่ยงตรง และไม่พ้นที่จะจัดมินิเบรคเบาเบาก่อนกลับ ตอนกลับก็ต้องเอารถ ATVที่เช่ามาไปคืน เที่ยงตรงคณะของพวกเราก็เก็บสัมภาระออกจากที่พักและมุ่งหน้าไปยังหน้าด่านพร้อมกับพาหนะคู่ใจ จากนั้นก็ขึ้นเรือกลับไปยังบ้านเพท่าเรือนวลทิพย์ จากนั้นก็จัดการหาของฝากไปฝากครอบครัวที่เชียงใหม่ และกลับถึงเชียงใหม่โดยสวัสดิภาพ


โดดก่อนกลับ bye bye Koh samet,Rayong.

ขอบคุณข้อมูลจาก:

ขอบคุณเพื่อนร่วมเดินทาง:
penpen,yui,pepong

ติดตามฉบับต่อไปได้ที่นี่ :http://attriptravelguide.blogspot.com/